วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ออนไลน์
เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (Operating System)


 จัดทำโดย
 1.        นางสาว           นฤมล              สระบัว           เลขที่   13        ชั้น พณ. 1/15
 2.         นางสาว           ปริยมาศ           นาสวน           เลขที่   15        ชั้น พณ. 1/15
 3.         นางสาว           ปรียาภรณ์        แสนปาก        เลขที่   16        ชั้น พณ. 1/15

อาจารย์ที่ปรึกษา
คุณครู  ธิดารัตน์      พลพันธ์สิงห์

วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาขอนแก่น





โครงงานเรื่อง                                       ระบบปฏิบัติการ (operating System)
ประเภทโครงงาน                                โครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
ระดับชั้น                                              ประกาศนียบัตรวิชาชีพ     ปี 1
โดย                                                      นางสาว               นฤมล                    สระบัว
                                                             นางสาว               ปริยมาศ                 นาสวน
                                                             นางสาว               ปรียาภรณ์              แสนปาก
สถานศึกษา                                          วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
สังกัด                                                   สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาขอนแก่น
ครูที่ปรึกษา                                          คุณครู     ธิดารัตน์      พลพันธ์สิงห์
ปีการศึกษา                                           2557


บทคัดย่อ
            โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เพื่อศึกษาเรื่อง ระบบปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์         1)เพื่อเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์เรื่อง  ระบบปฏิบัติการ         2) เพื่อให้เป็นสื่อในการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจเรื่อง ระบบปฏิบัติการ การเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ใช้โปรแกรมในการดำเนินงาน ดังนี้ โปรแกรม Microsoft Word, โปรแกรม Mozilla Firefox, G-Mail / Blogger.
ผลการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง  ระบบปฏิบัติการ โครงงานประกอบด้วย ผลการประเมินของการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์เพื่อการศึกษาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ





กิตติกรรมประกาศ
            คณะผู้จัดทำได้จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ให้มีความสำเร็จสมบูรณ์เพราะได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา และสมาชิกคณะผู้จัดทำทุกคน

   ซึ่งคณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณผู้ให้คำปรึกษา คุณครู ธิดารัตน์ พลพันสิงห์ จากคุณค่าของความดีที่อันพึงมีต่อโครงงานเล่มนี้คณะผู้จัดทำขอมอบความดีนี้ให้ผู้มีพระคุณทุกท่านและผู้สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้จัดทำทำโครงงานด้วยดีตลอดมา





คณะผู้จัดทำ
22สิงหาคม 2557





สารบัญ
เกี่ยวกับโครงงาน                                                                                                                                    A
บทคัดย่อ                                                                                                                                                 A
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                 B
สารบัญ (หน้า)                                                                                                                                         C
สารบัญ (ต่อ)                                                                                                                                            D
บทที่1 บทนำ                                                                                                                                           1
                -ที่มาและความสำคัญ                                                                                                              1
                -วัตถุประสงค์                                                                                                                          2
                -ขอบเขตการศึกษา                                                                                                                  2
                -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                    2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                       3
                -ความหมายของระบบปฏิบัติการ                                                                                            3
                -ประเภทของระบบปฏิบัติการ                                                                                                 4
                -ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน                                                                                             5
                -หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ                                                                                                    6
       บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการศึกษา                                                                                     8
                -วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน                                                                   8
                -ขั้นตอนการดำเนินงาน                                                                                                           8
บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา                                                                                        9
บทที่ 5 สรุปผล / ข้อเสนอแนะ                                                                                                               11
                -สรุปการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์                                                                                          11
                -การทดสอบการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์                                                                              11
            -อุปสรรคในการทำโครงงาน                                                                                                     11
เอกสารอ้างอิง                                                                                                                                        12





 บทที่ 1
บทนำ

            การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)มีบทนำ ดังนี้

ที่มาและความสำคัญ
ถ้ามีรถยนต์อยู่แต่ขับรถยนต์ไม่เป็น รถยนต์คันดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไม่มีระบบปฏิบัติการคอยควบคุมการทำงาน ซึ่งเปรียบได้กับรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีความสำคัญเปรียบเสมือนกับคนขับรถยนต์ที่จะต้องคอยควบคุมรถให้เดินทางไปถึงที่หมายอย่างถูกต้อง และปลอดภัย ระบบปฏิบัติการก็จะต้องควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการไม่ได้นำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์สมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเล่นเกม หรือแม้กระทั่งเครื่องซักผ้า ก็มีระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานเช่นกัน แต่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์นั้น ๆ โดยเฉพาะ
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญาณเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น





วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)
2. เพื่อใช้เป็นสื่อในการศึกษา และผู้ที่สนใจเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)

ขอบเขตการศึกษา
1.ขอบเขตด้านเนื้อหาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System) ซึ่งประกอบด้วย การโพสต์เผยแพร่ความรู้ผ่าน Blogger, รูปภาพ Blogger.
2.โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนิน ได้แก่
-โปรแกรม G-Mail.
-โปรแกรม Blogger.
-โปรแกรม Google Chrome.

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้เรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ที่สามารถใช้ศึกษาและค้นคว้า
2.ได้จริงได้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)ไปใช้ในการศึกษาได้




                                                                     บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)มีเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.ความหมายของระบบปฏิบัติการ (operating System)
2.ประเภทของระบบปฏิบัติการ
3.ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน
4.หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ

ความหมายของระบบปฏิบัติการ(operating System)
ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์แลซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น MS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น ระบบปฏิบัติงานมีหน้าที่หลัก ๆ คือ
1.จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำรองและเครื่องพิมพ์
2.จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้
3.ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น เช่น การรับข้อมูล และการแสดงผล เป็นต้น ปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะถูกเรียกให้เริ่มต้นทำงานผ่านระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ใช้ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรมหรือเครื่องที่มีขนาดใหญ่ก็ย่อมมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะต้องดูแลการทำงานหลายอย่างจากผู้ใช้หลายคนพร้อมกัน
ในปัจจุบันนี้ ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม จะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ คือระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือ เลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Compatible) และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh) โดยปกติแล้ว โปรแกรมประยุกต์ใด ๆ จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่องไอบีเอ็มพีซี จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่าเอ็มเอสดอส (MS - DOS)หรืออาจใช้ระบบที่ใหม่กว่าคือไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูลยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าแมคอินทอชซิสเต็มเซเว่น (Macintosh System 7) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่องสองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน เนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บนระบบใดระบบหนึ่ง หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบปฏิบัติการทั้งสองชนิดก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสองชุด
โดยมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส เพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอช เพราะมีระบบโต้ตอบผู้ใช้ที่ได้ง่ายและสวยงาม
1. ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส(MS-DOS) 
ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มักจะมีฮาร์ดดิสก์ติดอยู่ด้วยเสมอ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่าการบูตระบบ (booting) หรือ บูตแสตป (bootstrap) ซึ่งมีขั้นตอนคือเมื่อเปิดสวิทช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำรอม (ROM) จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น
C >หรือ C:\ >โดยที่หมายถึงดิสก์ไดร์ฟที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย>หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงาน (prompt) จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอสได้ทันที

ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก อาจแบ่งได้ออกเป็น 3ชนิดคือ
- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand-alone OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้นๆ) นิยมใช้สำหรับรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้ใช้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนังหรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการ จากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
- ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (network OS) เป็นระบบการที่มุ่งเน้นและบริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน(multi-user) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่อง sever ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (embedded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือSmart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อมๆกับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น  
1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบั


3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน 
4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ  นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา

                หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
                หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
   หน้าที่หลัก คือ จัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ อุปกรณ์อินพุตเอาท์พุต อุปกรณ์สื่อสาร และข้อมูล
หน้าที่รอง ประกอบด้วยเป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้ (User Interface)เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ได้ ซึ่งการติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร หรือรูปภาพ (Graphic User Interface : GUI)
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ ในองค์กรส่วนใหญ่จะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คนขึ้นไป และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล เป็นต้น
ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ระบบปฏิบัติการจะอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนมีสิทธิ์ใช้ข้อมูลนั้น ๆ และช่วยจัดคิวของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
แก้ไขปัญหาการทำงาของระบบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดในขณะที่ทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการจะทำการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพอยู่เสมอ
ช่วยให้หน่วยอินพุท-เอาท์พุตทำงานได้คล่องตัวในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อินพุต และเอาท์พุตต่าง ๆ ต้องอาศัยระบบปฏิบัติการ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ถูกต้องและสอดคล้องกัน
คำนวณทรัพยากรที่ใช้ไป ในการทำงานคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อระบบ ระบบปฏิบัติการจะช่วยคำนวณทรัพยากรที่ได้ใช้ไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใช้ ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
ช่วยให้ระบบทำงานเป็นแบบขนาน ระบบปฏิบัติการจะแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ เรียกว่าโปรเซส (Process)ซึ่งจะทำให้การทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้นจัดการโครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อข้อมูล และมีการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
ควบคุมการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย เนื่องจากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการรับ-ส่งข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบ ซึ่งการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นต้องอาศัยระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง







บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการศึกษา

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)มีอุปกรณ์และวิธีการดำเนินการศึกษา

1.วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่จะใช้ในการดำเนินงาน
1.1      เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.2      โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนิน ได้แก่
-                   โปรแกรม G-Mail.
-                   โปรแกรม Blogger.
-                   โปรแกรม Google Chrome.
2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
            1.1 คิดหาหัวข้อเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
           1.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลหัวข้อที่คณะผู้จัดทำสนใจเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System) ศึกษาเพิ่มเติมในเว็บไซต์ต่างๆ และจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
          1.3 ศึกษาจากการ โปรแกรม Google Chrome และเว็บไซต์ต่างๆ ที่เสนอการสมัคร G-Mail และสร้าง Blogger.
            1.4 จัดทำเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
           1.5 จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่องระบบปฏิบัติการ(operating System)
          1.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าให้ครูที่ปรึกษาโครงงานได้ตรวจสอบ ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจ ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็นำมาปรับปรุงแก้ไข ให้เป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
           1.7 จัดทำเอกสารโครงงานคอมพิวเตอร์
           1.8 ประเมินผลงานโดยครูที่ปรึกษาประเมินผลงานและให้เพื่อนผู้ที่สนใจร่วมประเมิน





บทที่ 4
ผลการศึกษาและอภิปรายศึกษา

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)มีผลการศึกษาและอภิปรายศึกษา ดังนี้
                ในการศึกษาโครงงานครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษา ความพึงพอใจในการเผยแพร่บทความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating              System)ซึ่งประกอบไปด้วย
1.วิชา  ระบบปฏิบัติการเบื้องต้น (2204-2002)
2.วิชา  โปรแกรมประมวลผลคำ (2204-2108)
3.วิชา  คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (2201-2001)
รวม 3 รายวิชาดังกล่าว โดยการบูรณาการร่วมกัน เป็นการนำเสนอผลการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ผลการประเมินได้จากเก็บข้อมูลจากกลุ่มนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ห้อง พณ.1/15 ผู้จัดทำขอนำเสนอผลงาน รวม BlogSpotทุกชั้นเรียน ระดับ ปวช. 1 แผนกสาขาคอมพิวเตอร์ ของครู ธิดารัตน์   ผลพันธ์สิงห์ http://kvcthidarat.blogspot.com/ซึ่งรวมทุก BlogSpot ในระดับชั้น ปวช. 1 แผนกสาขาคอมพิวเตอร์ ผู้จัดทำได้จัดทำ BlogSpotเพื่อเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)http://www.zermookmik.blogspot.com/การวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกรายละเอียด โดยวิธีการศึกษาข้อมูล ดังนี้


BlogSpot ของครู ธิดารัตน์ พลพันธ์สิงห์ รวมทุก BlogSpot ของนักเรียน ระดับ ปวช. 1 แผนกคอมพิวเตอร์



            BlogSpothttp://www.zermookmik.blogspot.com/   ซึ่งเป็นของคณะผู้จัดทำ ได้ทำบทความความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)

            และใน BlogSpot ได้นำเอาโครงงาน บทความความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System) ลงในบทความ เพื่อเผยแพร่ความรู้ออนไลน์





บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เผยแพร่ความรู้ออนไลน์เรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)มีสรุปผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้
                5.1 สรุปการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์
              คณะผู้จัดทำได้เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เพื่อการศึกษาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                5.1.1 บทความเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System)
                5.2 การทดสอบการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์
            ในการทดสอบการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เพื่อการศึกษาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System) คณะผู้จัดทำได้ใช้วิธีการทดสอบ โดยการโพสต์ใน BlogSpot เป็นการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในการแปลง File
จากการทดสอบ พบว่า BlogSpot ที่มีบทความเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System) ที่เผยแพร่เพื่อการศึกษาสามารถนำมาใช้ได้จริง และครบถ้วนตามวัตถุประสงค์
5.3 อุปสรรคในการทำโครงงาน
ในการทดสอบการเผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เพื่อการศึกษาเรื่อง ระบบปฏิบัติการ (operating System) พบปัญหาต่างๆ ดังนี้
5.3.1 การแปลง File จาก Microsoft Word เป็น Pdf file ต้องปรับขนาดตัวอักษรเอง ตัวอักษรอาจไม่เท่ากันต้องมาจัดเนื้อหาให้น่าสนใจอย่างเดิม
                5.4 ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาต่อ
           5.4.1 ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ต่างๆ และเพิ่มเนื้อหาให้มากมายหลากหลายกว่านี้
           5.4.2 ควรเพิ่มแบบทดสอบ หรือ แบบการประเมิน





เอกสารอ้างอิง

ความหมายของระบบปฏิบัติการ.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:post.htmlhttp://pornpimonl2534.blogspot.com/2010/08/1_16.html
                                                (วันที่สืบค้น : 6 กันยายน2557)

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:  http://mutteneemai.blogspot.com/2011/06/blog-
                                                (วันที่สืบค้น : 6 กันยายน 2557)

ความหมายของบล็อกเกอร์.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://blogger-peepo.blogspot.com/2008/09/blog-
post.html
                                                (วันที่สืบค้น : 6 กันยายน 2557)

ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://amazoscom.blogspot.com/p/blog-page.html
                                                (วันที่สืบค้น : 6 กันยายน 2557)